กุมภาแล้ว...แต่ถ้ายังปวดก็คงกุมมือใครไว้ไม่ได้

กุมภาแล้ว...แต่ถ้ายังปวดก็คงกุมมือใครไว้ไม่ได้

กุมภาแล้ว แต่ถ้าปวดมือคงจะกุมมือใครไว้ไม่ได้ ใครที่กำลังมีอาการปวดนิ้วมือ ชาบริเวณนิ้ว หรือมือไม้อ่อนแรง หยิบจับสิ่งของแล้วหล่นจากมือกันอยู่บ้างครับ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคพังผืดข้อมือทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome) ซึ่งมักจะเกิดกับกลุ่มคนที่มีการทำกิจกรรมพิมพ์งานบนแป้นพิมพ์ เล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน ซักผ้า ทำอาหาร หรือเล่นกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้ข้อมือเยอะๆ เช่น กอล์ฟ เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น 

 

ลองเช็กตัวเองกันครับว่าคุณกำลังเสี่ยงต่อโรคพังผืดข้อมือทับเส้นประสาทอยู่หรือเปล่า ? หากไม่แน่ใจลองศึกษาอาการพร้อมการรักษาจากบทความนี้ดูนะครับ

 

อาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคพังผืดข้อมือทับเส้นประสาท 

  • นิ้วชา ปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือ
    เนื่องจากเส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เกิดการกดทับทำให้มีอาการชาบริเวณนิ้ว ปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับนิ้วก้อย เป็นผลจากปลายประสาทอักเสบที่เกิดจากการถูกกดทับและเอ็นกล้ามเนื้อใช้งานซ้ำๆ 
  • อาการจะเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน หรือขณะที่กำลังทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ขับรถ พิมพ์งาน หรือถือโทรศัพท์เป็นเวลานาน 
  • มือไม้อ่อนแรง หยิบจับสิ่งของจะหล่นจากมือทันที ถ้าหากปล่อยไว้นานอาจกระทบถึงกล้ามเนื้อในมือ ก่อให้เกิดภาวะมืออ่อนแรง

 

อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ เริ่มจากการดูแลตนเองเบื้องต้น 

  1. แช่ข้อมือในน้ำแข็งเป็นเวลา 10-15 นาที 1-2 ครั้ง/วัน หรือเอามือแช่น้ำอุ่นประมาณ 37 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นค่อยๆยืดมือและข้อมือออก 3-4 ครั้ง/วัน 
  2. ใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือ เหมาะกับคนที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งจะช่วยให้อาการค่อยๆดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรพักการใช้ข้อมือและเลี่ยงงานที่หนักจนเกินไป พักสายตาสัก 10-15 นาที แล้วค่อยๆบริหารข้อมือพร้อมจัดวางมือและข้อมืออยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม 

 

หากอาการของโรคพังผืดข้อมือทับเส้นประสาท ยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ 
การใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดโดย Laser Therapy จะช่วยลดการอักเสบของปลายประสาทมีเดียนทันทีและเร่งการซ่อมแซม ฟื้นฟูของเส้นประสาท รวมถึงการใช้ Ultrasound Therapy ก็จะช่วยลดความตึงตัวที่มือและข้อมือ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นประโยชน์มากสำหรับใครที่ต้องการกลับไปทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกได้เร็วที่สุด

 

ใครมีปัญหานี้ นักกายภาพของเราพร้อมดูแลนะครับ

Back to blog