คลินิกรูปแบบไพรเวทสำหรับลูกค้า mr.big

รักษาอาการอะไรบ้าง

  • กลุ่มออฟฟิศซินโดรม

    ยิ่งตำแหน่งที่สูงขึ้น ตำแหน่งปวดยิ่งมากขึ้น อาการปวดจากการทำงานส่งผลกระทบต่อจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น รีบจัดการตั้งแต่วันนี้ นักกายภาพบำบัดของ mr.big clinic ใช้เทคนิคหลากหลายขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์สาเหตุของอาการ และไม่เพียงรักษาจุดที่ปวดเท่านั้น เราแก้ไขที่ต้นเหตุ รวมถึงสอนการทรงท่าที่เหมาะ สอนจัด ergonomic ในที่ทำงาน ก่อนปล่อยลูกค้ากลับไปสู้ต่อ

  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

    No room for pain, more room for play. อย่าให้ความปวดเป็นข้อจำกัด ในเกมกีฬาทุกคนอยากสนุกกับมันอย่างไร้ขีดจำกัด mr.big clinic ลดอาการบาดเจ็บ และทำให้คุณสามารถแสดงศักยภาพทางกีฬาออกมาถึงขีดสุด

  • อัมพฤกษ์ อัมพาต

    ภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเกิดจากการสั่งของร่างกายที่ไม่ปกติ mr.big clinic จะช่วยคุณให้สามารถสั่งร่างกายให้กลับมาเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ฟื้นฟูได้อย่างเต็มศักยภาพ

  • กล้ามเนื้ออักเสบ

    การบาดเจ็บเฉียบพลัน รบกวนการทำงานของคุณ หลายๆครั้งยังคงมีอาการจนถึงตอนนี้ mr.big clinic จะช่วยนำทางให้กล้ามเนื้อกลับมาซ่อมแซมและทำงานได้อย่างถูกต้องอีกครั้ง

  • ข้อเท้าพลิก-แพลง

    การอักเสบของเส้นเอ็นทั้งปวดทั้งไม่มั่นคง mr.big clinic จะเสริมความมั่นคงของข้อต่อ เส้นเอ็น และยังลดอาการปวดขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ

  • ความเสื่อมของกระดูกสันหลัง

    ความเสื่อมของร่างกายไม่ไกลตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน mr.big clinic สามารถช่วยป้องกันได้ ด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายในจุดที่สำคัญ ช่วยชะลอความเสื่อม

Use the right tools.

เครื่องมือที่เราเลือกใช้

Shockwave

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • อาการปวดเรื้อรังในกล้ามเนื้อและเอ็น
  • การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
  • เริ่มมีอาการปวดหลังจากทำงานไปสักพัก
  • มีอาการปวดเป็นประจำ
  • มีอาการปวดทุกครั้งที่ทำกิจกรรม
  • อาการปวดรบกวนการนอน

เหมาะกับใช้ที่กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตามบริเวณร่างกาย

  • บ่าและหัวไหล่
  • ข้อศอก
  • หลัง
  • ก้น
  • หน้าขาและหัวเข่า
  • น่อง
  • ฝ่าเท้า

ระยะอาการไหนถึงควรเลือกใช้ Shockwave

  • ระยะเรื้อรัง (14 วันขึ้นไป)

ผลที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษา

  • เร่งกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อ (Cell Proliferation)
  • เพิ่มการสร้างคอลลาเจน (Procollagen synthesis)
  • ลดการอักเสบ (decreasing the release of inflammatory mediators)
  • ลดการส่งสัญญาณอาการปวดไปยังสมอง (Gate control theory)
  • เพิ่มความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหว (Flexibility and movement)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • บวม ผื่นแดง
  • ห้อเลือด
  • จุดเลือดออก
  • อาการล้าชั่วคราว

High Intensity Laser 

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • กลุ่มคนที่มีอาการปวดเฉียบพลัน
  • มีอาการชาปลายประสาท
  • มีอาการปวดมาก
  • เพิ่งเกิดการอักสบเกิดขึ้น

เหมาะกับใช้ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

  • บริเวณกล้ามเนื้อ
  • เอ็นและเยื่อหุ้มข้อต่อ
  • บริเวณข้อต่อ
  • แผลจากการผ่าตัด

ระยะอาการไหนถึงควรเลือกใช้ Laser

  • ระยะอักเสบ (1-14 วัน)

ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา

  • เนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองอย่างรวดเร็ว (Increase cell regeneration)
  • ลดอาการอักเสบ (Decrease inflammation)
  • เร่งกระบวนการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อ (Biological effect)
  • ลดความไวการรับความรู้สึกของปลายประสาท (Decreases nerve sensitivity)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • ผิวสีแดงเล็กน้อย
  • ระคายเคืองผิวเล็กน้อย
  • รู็สึกล้าเล็กน้อย

Ultrasound 

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • ใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ
  • กระดูกและเส้นเอ็น
  • เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
  • การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
  • มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

เหมาะกับใช้ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

  • สามารถใช้ได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่มีอาการปวด

ระยะไหนของอาการที่ควรเริ่มใช้ Ultrasound

  • ระยะอักเสบ (1-14 วัน)
  • ระยะเรื้อรัง (14 วันขึ้นไป)

ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา

  • เร่งกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ (increasing the activity levels of the whole cell)
  • เพิ่มการแลกเปลี่ยนสารระดับเซลล์ (Allow cell membrane potential)
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน (Stimulate the body's creation of new collagen)
  • ลดอาการปวด (Gate control theory)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • ผิวสีแดงเล็กน้อย

Electro Therapy

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • กล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง
  • ผู้ที่มีอาการบวม
  • ผู้ที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • ผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง

เหมาะกับใช้ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

  • สามารถใช้กับทุกตำแหน่งของร่างกาย

ระยะไหนของอาการที่ควรเริ่มใช้ Electro Therapy

  • ระยะอักเสบ (1-14 วัน)
  • ระยะเรื้อรัง (14 วันขึ้นไป)

ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา

  • ลดปวด (Decrease pain)
  • ลดบวม (Decrease edema)
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Increase muscle strength)
  • เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ (Increase regeneration)
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิต (Increases blood flow)
  • กล้ามเนื้อคลายตัว (Muscle relaxation)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • ระคายเคืองผิวเล็กน้อย

Cryo-Thermal

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • ผู้ที่มีอาการบวม
  • ผู้ที่มีอาการปวด
  • ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูกภายใน

เหมาะกับใช้ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

  • สามารถใช้ได้ทุกตำแหน่งยกเว้นบริเวณแผลเปิด

ระยะไหนของอาการที่ควรเริ่มใช้ Cryo-Thermal

  • ระยะอักเสบ (1-14 วัน)
  • ระยะเรื้อรัง (14 วันขึ้นไป)

ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา

  • ลดปวด (Decrease pain)
  • ลดบวม (Decreases edema)
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือด (Increase blood circulation)
  • ยับยั้งการอักเสบ (Decrease inflammation)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • ผิวหนังแดง
  • วิงเวียนศีรษะ

EMG Feedback

เหมาะกับอาการแบบไหน

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ควบคุมกล้ามเนื้อผ่อนคลายไม่ได้
  • กล้ามเนื้อเกร็งตัวตลอดเวลา
  • มีปัญหาการกดทับเส้นประสาท

เหมาะกับใช้ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย

  • เหมาะใช้กับกล้ามเนื้อบริเวณที่มีพยาธิสภาพ

ระยะไหนของอาการที่ควรเริ่มใช้ EMG Feedback

  • ระยะอักเสบ (1-14 วัน)
  • ระยะเรื้อรัง (14 วันขึ้นไป)

ผลที่เกิดขึ้นจากการรักษา

  • กล้ามเนื้อควบคุมได้(Increase muscle control)
  • กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น (Increase muscle strength)
  • กล้ามเนื้อมีความทนทาน (Increases muscle endurance)
  • กล้ามเนื้อสามารถผ่อนคลายได้ (muscle relaxation)

ผลข้างเคียงหลังรักษา

  • ผิวหนังแดงเล็กน้อย
  • อาการล้าจากการออกแรง

Make the right move.

การบริหารให้ถูกจุด

เพื่อเพิ่มพิสัยของการเคลื่อนไหว (Range of motion exercise)

มักจะมีอาการตึงหรือติดของข้อเกิดขึ้นจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบๆข้อ มีการเพิ่ม Collagen และ reticulin ในเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ร่วมกับการน้ำหล่อลื่นของข้อลดลง

การเคลื่อนไหวเพิ่มพิสัยจะลดความยึดตึงขอกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบๆข้อ ทำให้ Collagen และ reticulin มีความยืดหยุ่นเพียงพอ

เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคงทน (Movement for strength and endurance)

โดยเป็นการบริหารให้กล้ามเนื้อทำงานเอง (active movement) ซึ่งสามารถทําได้ใน 3 รูปแบบคือ isometric, isotonic, isokinetic ความแข็งแรง (strength) ของกล้ามเนื้อ หมายถึงแรงตึงตัว (tension) สูงสุดที่กล้ามเนื้อสามารถทำได้ในการหดตัว เพื่อกระตุ้นการสะสมของเซลล์กล้ามเนื้อเนื่องจากกล้ามเนื้อจะเรียนรู้ว่าต้องใช้แรงตึงตัวจะเกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

เพื่อเพิ่มความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อ (Coordination movement)

กล้ามเนื้อจะทำงานประสานกันได้ดี ราบรื่น ต้องอาศัยการทํางานประสานกัน 3 อย่าง คือ การทำงานระบบประสาท กลุ่มกล้ามเนื้อ และระดับ motor unit หลักการฝึกจะเริ่มตั้งแต่การฝึกกล้ามเนื้อแต่ละมัด หรือเรียกว่า muscle re-education เป็นการฝึกเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่กล้ามเนื้อในระยะแรก เมื่อทำได้ดีแล้วจะทําการฝึก neuromuscular coordination เพื่อให้เคยชินในกิจกรรมประจำวัน โดยกล้ามเนื้อควรทำงานอย่างต่อเนื่องแม้จะไม่ได้สั่งการ (Automatic function)

เพื่อการผ่อนคลาย (Relaxation)

ใช้ในกลุ่มที่มีอารมณ์ตึงเครียด หรือมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวด หลักการคือต้องจัดให้อยู่ในภาวะที่สบายและผ่อนคลายที่สุด จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพัก ไม่มีสิ่งรบกวนหรือกระตุ้น ผู้บำบัดจะสอนให้เรียนรู้การผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงแข็ง และให้ทราบความรู้สึกที่แตกต่างกันระหว่าง ความตึงเครียดกับการผ่อนคลาย ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง จนสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เต็มที่ และสามารถบังคับได้แม้ในภาวะแวดล้อมที่ต่างกันออกไป หรืออาจใช้ เครื่องมือทางไฟฟ้ามาช่วยในการฝึกได้